ภาพกิจกรรม

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 16 วันที่ 25 กันยายน 2555

- อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละหนึ่งแผ่น ให้แสดงความคิดเหนว่า " การใช้ TABLET ในชั้นประถม และ อนุบาล " ข้อดี > ในเรื่องของ > เนื้อหาสาระ
                                                                  > ทักษะ
                                                                  > การใช้ชีวิตประจำวัน

                                  ข้อจำกัด > เกิดอะไรขึ้น > เนื้อหาสาระ
                                                                        > ทักษะ
                                                                        > การใช้ชีวิตประจำวัน

- อาจารย์แนะนำในการใช้ TABLET  อธิบายเกี่ยวกับ TABLET
- ร่วมกัน อภิปรายซักถาม เรื่องของ TABLET ในด้าน ข้อดี ข้อจำกัด ในชั้น อนุบาล และ ประถมศึกษา
- อย่างเช่น > เด็กติดเกมส์
                  > มาแทนครู
                  > การบริหารจัดการของครู
                  > การหาข้อมูลเพิ่มเติม
                  > ทักษะในการอ่าน การพูด การเขียน การฟัง
                  > การใช้เทคโนโลยี
                  > เป็นสื่อตัวหนึ่ง ไม่สามารถเข้ามาแทนทั้งหมดได้
                  > สื่อ 3 มิติ สามารถ มองเห็น จับต้องได้
                 
 ด้านผู้สอน

- ได้รู้ทักษะ การบรรยายของผู้สอน
- การประดิษฐ์สิ่งของ
- การสรุปความคิด
- ค้นคว้าเพิ่มเติม ตัวสนับสนุน  อ้างอิงได้
- การมอบหมายงาน > มีประเด็น
                                 > วัตถุประสงค์
                                 > ไปใช้กับใคร
                                 >  การวางแผน
- การระดมความคิด
- การมีส่วนร่วม
- กระบวนการในการแก้ปัญหา
- การทดลอง
- การดูโทรทัศน์ครู
              

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 15 วันที่ 18 กันยายน 2555

ฐานระดับน้ำมีผลต่อระดับเสียง ( กลุ่ม )

อุปกรณ์

1. แก้ว
2. น้ำเปล่า
3. สีผสมอาหาร
4. ตะเกียบ
5. เหยือกน้ำ

สมาชิกในกลุ่ม

1. นางสาว ทิพากร พลเยี่ยม
2. นางสาว วรรณพร  นิยม
3. นางสาว วรางคณา  โพธิ์พา
4. นางาว ชนากานต์  บุญคำ


ภาพกิจกรรม

       ฐานระดับน้ำมีผลต่อระดับเสียง      









ภาพกิจกรรมของแต่ละฐาน








VDO บรรยากาศในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 
ณ โรงเรียนสาธิตจันทรเกษม 


https://www.facebook.com/photo.php?v=205356549595158&set=vb.100003624439265&type=2






       


บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 14 วันที่ 11 กันยายน 2555

- อาจารย์พูดถึงเรื่อง " การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ " โรงเรียนสาธิตจันทรเกษม ในวันที่ 18 ก.ย 2555
- เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม
- ทำป้ายขื่อเด็กๆ
- ตรวจแผนกิจกรรมของแต่ละกลุ่ม
- การให้เด็กเล่นผ่านกิจกรรม , การลงมือปฎิบัติ
- การนำวิทยาศาสตร์มาใส่ในตัวกิจกรรม
- การลงมือปฎิบัติ พร้อมกับสังเกต แล้วจดบันทึก

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 13 วันที่ 4 กันยายน 2555


ภาพบรรยากาศในห้องเรียน อาจารย์กำลัง อธบายในการจัดป้ายนิเทศ การจัดดอกไม้ 












 - อาจารย์ แนะนำเทคนิควิธีในการจัดป้ายนิเทศ การจัดทำบอร์ดดอกไม้ ที่นักศึกษานำมาส่งแต่ละกลุ่ม และร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดป้ายนิเทศ
- การวางแผนในการจัดป้ายนิเทศ การจัดไล่ดอก การจัดช่อดอกไม้ ต้องวางใบก่อนวางดอกไม้
- การวางใบ การจัดเข้ามุม
- ดอกไม้ต้องมี ใบเลี้ยง ใบรอง จะได้ดูเป็นธรรมชาติ
- การนำสิ่งที่เราได้เรียนรู้และอบรมนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์
- การจัดต้องมีความทนทาน มีความแข็งแรง
- ในการจัด มีท้ง ดอกไม้  ขนาด ใหญ่ กลาง เล็ก จะทำให้ดูเป็นศิลปะมากขึ้น



* ส่งงานกลุ่ม งานทดลอง สื่อ วิทยาศาสตร์


เนื้อหาเพิ่มเติม

แนวคิด  หมายถึง  ความคิดสำคัญซึ่งเป็นแนวในการผูกเรื่องหรือความคิดอื่น ๆ  ที่สอดแทรกอยู่ในเรื่องก็ได้  เช่น  แนวคิดเกี่ยวกับเรื่องบุญกรรม  แนวคิดเกี่ยวกับความรัก  ความยุติธรรม  ความตาย  แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์  หรือแนวคิดที่เป็นความรู้ในด้านต่าง ๆ 


สื่อสามมิติ

 สื่อสามมิติ หมายถึง  สื่อที่ผลิตจากวัสดุที่มีความกว้าง ความยาว ความหนาหรือลึก  
ผู้เรียนสามารถรับรู้ได้หลายมุมมอง และการรับสัมผัสต่างๆ  สามารถรับรู้ได้ตามความเป็นจริงประเภทของสื่อวัสดุ 3 มิติ  มีดังต่อไปนี้

 1.หุ่นจำลอง (models)
 2.ของจริง (real objects)
 3.ป้ายนิเทศ (bulletin boards)
 4.อันตรทัศน์ (diorama)

 1.หุ่นจำลอง (models)
 หุ่นจำลอง (models) หมายถึง  วัสดุสามมิติที่สร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบของจริง  เนื่องจากข้อจำกัดบางประการที่ไม่สามารถจะใช้ของจริง 
 ประกอบการเรียนการสอนได้ เช่น การอธิบายลักษณะและตำแหน่ง  ของอวัยวะภาพในร่างกายของคนหรือสัตว์
 ดังนั้นของ  จำลองจึงมีคุณค่าต่อการเรียนใกล้เคียงกับของจริง คุณค่าของหุ่นจำลอง   ช่วยแก้ปัญหาเรื่องขนาด 
ของจริงอาจมีขนาดเล็กใหญ่เกิน  ช่วยให้เข้าใจสิ่งที่มีความวับซ้อน เช่น อวัยวะ เครื่องยนต์  อธิบายสิ่งที่เป็นนามธรรม 
หรือไม่อาจสัมผัสได้ เช่น โครงสร้างของอะตอม  แทนของจริงบางอย่าง ที่ราคาแพงเกินไป หุ่นจะลองไม่เน่าเสีย
 เช่น  หุ่นจะลองใบไม้ ผลไม้เนื้อสัตว์

 ประเภทของหุ่นจำลอง

 1. หุ่นรูปทรงภายนอก (Solid Model)
 2. หุ่นเท่าของจริง (Exact  Model)
 3. หุ่นจำลองแบบขยายหรือแบบย่อ (Enlarge, Reduce Model)
 4. หุ่นจำลองแบบผ่าซีก (Cut Away Models)
 5.  หุ่นจำลองแบบเคลื่อนไหวทำงานได้ (Working Models)
 6.  หุ่นจำลองเลียนของจริง (mockup Models)


 2.ของจริง (real  objects)
 ของจริง (real objects) หมายถึง สิ่งเร้าต่างๆ  ที่มีภาพเป็นของเดิมแท้ๆ 
ของสิ่งนั้นอาจเป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ  ผู้เรียนสามารถรับรู้และเรียนรู้ของจริงได้ด้วยประสาทรับสัมผัสทั้ง 5 
  ของจริงอาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ ของจริงแท้และของจริงแปรสภาพ

 3.ป้ายนิเทศ (bulletin boards)
 ป้ายนิเทศ (bulletin boards)  เป็นวัสดุที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่เมื่อเปรียบเทียบกับสื่อทัศนวัสดุอื่นๆ 
 ใช้แสดงเรื่องราวต่างๆ ด้วยวัสดุต่างๆ ด้วยวัสดุหลายชนิด 
 ลักษณะของป้ายนิเทศที่ดีมีเนื้อหาแนวคิดและตรงวัตถุประสงค์
  มีจุดสนใจหลักเพียงจุดเดียว

 4.ตู้อันตรทัศน์ (diorama)
 ตู้อันตรทัศน์ (diorama) เป็นทัศนวัสดุที่ออกแบบเป็นสื่อ 3  มิติเลียนแบบธรรมชาติหรือบรรยากาศสิ่งแวดล้อมที่เป็นของจริง 
 กระตุ้นความสนใจได้ดีสื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์1.  ความหมายของสื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ 
 เป็นส่วนหนึ่งของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์  เป็นการเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอบทเรียนจากเอกสาร ตำรา
  ให้อยู่ในรูปของสื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์

 สื่อประเภทตั้งแสดงและการประดิษฐ์ตัวอักษร

 ความ หมายและลักษณะการจัดแสดง
 การจัดแสดง (Displays) คือ  การนำเอาวัสดุการเรียนการสอนมาตั้งหรือแขวน 
โดยอาจมีกิจกรรมประกอบกับวัสดุ  เพื่อให้ผู้สนใจได้ศึกษาหาความรู้ 
 ส่วนใหญ่จะเป็นการนำเอาทัศนวัสดุมาใช้ในการจัดแสดงบนแผ่นป้ายแบบต่าง ๆ 
 ซึ่งผู้จัดจะต้องออกแบบเพื่อเสนอข้อมูลหรือความคิดในเรื่องราวที่จัดให้ผู้ ดูเกิดความสนใจ ได้รับความรู้
 และความบันเทิงควบคู่กันไป  วัสดุที่นำมาใช้เรียกว่า วัสดุตั้งแสดง (display materials)

 ลักษณะ การจัดแสดง

 1. การติดตั้งบนแผ่นป้าย ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของแผ่นป้าย  
วัสดุที่นำมาใช้ในการแสดง ก็ควรเป็นวัสดุเฉพาะแผ่นป้ายนั้น

 2.  การห้อยหรือแขวน เหมาะกับวัสดุประเภทสวยงามและมีน้ำหนักเบา 
 โดยมีจุดประสงค์ให้ผู้ดูเห็นทุกด้าน หรือต้องการเป็นจุดเน้น 

 3.  การวางบนโต๊ะแสดง เหมาะสมกับวัสดุอุปกรณ์ที่มีขนาดใหญ่
  และมีน้ำหนักหรือเป็นประเภทที่ต้องการสาธิตการทำงาน เช่น อุปกรณ์วงจรไฟฟ้า  เป็นต้น

 วัตถุประสงค์ในการใช้สื่อแผ่นป้าย
 การใช้สื่อแผ่นป้าย นั้น สามารถใช้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังนี้
 1.   เพื่อประกอบการสอนโดยตรง
 2.   เพื่อสรุปบทเรียนหรือแสดงผลงานของผู้เรียน
 3.   เพื่อจัดทำกิจกรรมการเรียนการสอน
 4.   เพื่อประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูล

 ประเภทของสื่อแผ่นป้ายและข้อแนะนำ ในการใช้
 การใช้แผ่นป้ายเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ดังกล่าว  
จึงมีการนำแผ่นป้ายประเภท  ต่าง ๆ มาใช้  
ซึ่งมีลักษณะและข้อแนะนำในการใช้ให้เหมาะสมในแต่ละประเภท ดังนี้

 1. กระดานชอล์ค (Chalk Board) เป็นกระดานแผ่นเรียบ ไม่มีรอยต่อ 
 พื้นผิวทาด้วยสีทากระดาน ซึ่งเป็นสีเขียว  โดยทั่วไปนิยมใช้เขียนหรือวาดภาพด้วยชอล์คสีขาว  
และติดตั้งไว้ที่หน้าชั้นเรียนทุกระดับชั้น

 2.  ป้ายนิเทศ (Bulletin  Board) เป็นป้ายที่ใช้แสดงเรื่องราวโดยใช้รูปภาพ แผนภูมิ แผนสถิติ
  และข้อความต่าง ๆ เพื่อช่วยในการเรียนรู้  และช่วยในการจัดกิจกรรมในการเรียนการสอนของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี  
โดยทั่วไปมักมีขนาด 2x3 ฟุต หรือ 2x4 ฟุต

 3.ป้ายผ้าสำลี (Felt Board)  เป็นสื่อประเภทแผ่นป้ายที่ทำได้ง่าย ใช้ง่าย และราคาถูก  
มีลักษณะเป็นแผ่นป้ายแข็ง หุ้มด้วยผ้าสำลี  ใช้เป็นป้ายสำหรับติดชิ้นส่วนที่เป็นภาพตัดขอบ 
 หรือบัตรคำที่มีกระดาษทรายติดอยู่  เพราะผ้าสำลีมีขนซึ่งจะช่วยให้กระดาษทรายเกาะติดอยู่ได้ 
ใช้ประกอบการสอน  การอธิบาย การเล่าเรื่อง การเล่านิทาน และการสาธิต โดยเฉพาะการสอนกลุ่มเล็กๆ
 ในระดับประถมศึกษาตอนต้นได้ดี

 4.ป้ายแม่เหล็ก (Magnetic Board)  เป็นสื่อที่มีลักษณะคล้ายแผ่นป้ายผ้าสำลี แต่ใช้  
วัสดุในการทำพื้นป้ายต่างกัน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้ 
 โดยใช้แผ่นเหล็กหรือวัสดุที่มีเหล็กเจือจางหรือแผ่นสังกะสี 
 วัสดุที่นำมาติดแผ่นป้าย อาจเป็นวัสดุ 3 มิติ บัตรคำ หรือรูปภาพ  
ที่มีเม็ดแม่เหล็กเล็ก ๆ หรือแถบแม่เหล็กติดอยู่  ทำให้ติดกับแผ่นป้ายในขณะใช้งานได้

 5 .ป้ายไฟฟ้า (Electronic Board)  เป็นแผ่นป้ายที่มีทั้งคำถาม คำตอบอยู่บนแผ่นป้าย
 ให้ผู้เรียนเรียนด้วยตนเอง โดยการจับคู่หรือเลือกตอบ คำถาม-คำตอบที่ถูกต้อง  
จะมีวงจรไฟฟ้าเชื่อมต่อกัน เมื่อจับคู่ได้ถูกต้อง จะมีสัญญาณปรากฏ เช่น  แสงไฟสว่าง หรือเสียงดัง

 6. กระเป๋าผนัง (Slot Board)  เป็นแผ่นป้ายมีช่องหรือหลืบสำหรับใส่บัตรคำ บัตรภาพ 
 เพื่อใช้ถ่ายทอดเนื้อหาที่มีการใช้รูปแบบของคำ ประโยค  ไวยากรณ์ได้เป็นอย่างดี




การสร้างสื่อ 3 มิติ
สื่อวัสดุ 3 มิติวัสดุ 3 มิติ หมายถึง สื่อที่ผลิตจากวัสดุที่มีความกว้าง ความยาว ความหนาหรือลึก ผู้เรียนสามารถรับรู้ได้หลายมุมมอง และการรับสัมผัสต่างๆ สามารถรับรู้ได้ตามความเป็นจริงประเภทของสื่อวัสดุ 3 มิติ
1.หุ่นจำลอง ควรมีเทคนิคในการเลือกให้ตรงกับจุดมุ่งหมายของเนื้อหา
2.ของจริง ควรมีลักษณะตรงกับวัตถุประสงค์ เนื้อหา และธรรมชาติของผู้เรียน
3.ป้ายนิเทศ ชื่อเรื่องต้องมีลักษณะเป็นข้อความสั้นๆ ข้อความเนื้อหา คำเชิญชวน คำแนะนำน่าสนใจ
4.ตู้อันตรทัศน์ สื่อ 3 มิติเลียนแบบธรรมชาติ กระตุ้นความสนใจ วัสดุประกอบฉากสอดคล้องเป็นเรื่องเดียวกัน


การบ้าน

ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม ย่อยเป็น 9 กลุ่ม กลุ่มละ 4 คน ให้จัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 


วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 12 วันอังคารที่ 28 สิงหาคม 2555

อบรมเชิงปฎิบัติการ
" การสร้างสื่อประยุกต์ "
วันที่ 25 - 26 สิงหาคม 2555
ณ ห้องประชุมศูนย์ศึกษาพัฒนาครู
คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม





จัดตกแต่งบอร์ดจากดอกไม้กระดาษ

ผลงานกลุ่ม





สมาชิกในกลุ่ม

1. นางสาว วรรณพร  นิยม
2. นางสาว ชากานต์  บุญคำ
3. นางสาว วรางคณา  โพธิ์พา


บันมึกการเข้าอบรม วันที่ 26 สิงหาคม 2555



อบรมเชิงปฎิบัติการ
" การสร้างสื่อประยุกต์ "
วันที่ 25 - 26 สิงหาคม 2555
ณ หอประชุมศูนย์ศึกษาพัฒนาครู
คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม



ผลงานกลุ่ม












สมาชิกในกลุ่ม

1. นางสาว วรรณพร  นิยม
2. นางสาว ชากานต์  บุญคำ
3. นางสาว วรางคณา  โพธิ์พา


บันทึกการเข้าอบรม วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม 2555




อบรมเชิงปฎิบัติการ
" การสร้างสื่อประยุกต์ "
วันที่ 25 - 26 สิงหาคม 2555
ณ หอประชุมศูนย์ศึกษาพัฒนาครู
คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม


ภาพกิจกรรม