ภาพกิจกรรม

วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 2 วันที่ 19 มิ.ย 2555

- อาจารย์  ให้นักศึกษา  เขียนความคิดเห็นเกี่ยวกับวิชาว่า  คุณคาดหวังที่จะได้อะไรจากวิชานี้

รู้ > เรียนรู้
   > รับรู้
   > อยากรู้
   > ความรู้
   > ผู้รู้
   > รอบรู้
   > ใฝ่รู้
   > น่ารู้
   > ควรรู้
   > สู่รู้
   > แสนรู้

การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย > การจัดประสบการณ์ > หลักการจัดประสบการณ์
                                                                                                  > ทฤษฎี
                                                                                                  > กระบวนการจัดประสบการณ์
                                                                                                  > เทคนิควิธีการจัด
พัฒนาการมีประโยชน์อย่างไรบ้าง > วิธีการประเมินผล

วิทยาศาสตร์ >  สาระวิทยาศาสตร์  > ทักษะกระบวนการพื้นฐาน >

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทั้ง 13 ทักษะ

1.ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร
การกำหนดตัวแปร เป็นการชี้บ่งตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องการควบคุม
ในสมมติฐานหนึ่ง ๆ การควบคุมตัวแปร เป็นการควบคุมสิ่งอื่น ๆ นอกเหนือจากตัวแปรต้น ถ้าหากไม่ควบคุม ให้เหมือนๆ กัน ก็จะทำให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อน
ตัวแปรต้น คือ สิ่งที่เราต้องจัดให้แตกต่างกัน ซึ่งเป็นต้นเหตุ ทำให้เกิดผล ซึ่งเราคาดหวังว่าจะแตกต่างกัน ตัว
แปรตาม คือ สิ่งที่เราต้องติดตามดู ซึ่งเป็นผลจากการจัดสถานการณ์บางอย่าง ให้แตกต่างกัน
ตัวแปรควบคุม คือ สิ่งที่เราต้องควบคุมจัดให้เหมือนกันเพื่อให้แน่ใจว่า ผลการทดลอง เกิดจากตัวแปรต้นเท่านั้น
2.ทักษะการคำนวณ คือ การนับจำนวนของวัตถุและการนำตัวเลขแสดงจำนวนที่นับได้ มาคิดคำนวณโดยการบวก ลบ คูณ หาร หรือหาค่าเฉลี่ย
3.ทักษะการจัดทำและสื่อความหมายข้อมูล เป็นการนำผลการสังเกต การวัด การทดลองจากแหล่งต่าง ๆ โดยการหาความถี่ เรียงลำดับ จัดแยกประเภท หรือคำนวณหาค่าใหม่ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมาย ของข้อมูลดียิ่งขึ้น โดยอาจเสนอในรูปแบบของตาราง แผนภูมิ แผนภาพ วงจร กราฟ สมการ และการเขียนบรรยาย
4.ทักษะการจำแนกประเภท คือ การแบ่งพวก หรือเรียงลำดับวัตถุ หรือสิ่งที่อยู่ในปรากฏการณ์ โดยใช้เกณฑ์ ความเหมือน ความแตกต่าง หรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
5.ทักษะการตั้งสมมติฐาน คือ การคิดหาคำตอบล่วงหน้า ก่อนจะทำการทดสองโดยอาศัยการสังเกต ความรู้ ประสบการณ์เดิม เป็นพื้นฐานคำตอบที่คิดล่วงหน้าซึ่งยังไม่ทราบ หรือยังไม่เป็นหลักการ กฎ หรือ ทฤษฎีมาก่อน สมมติฐาน หรือคำตอบที่คิดไว้ล่วงหน้า มักกล่าวไว้เป็นข้อความ ที่บอก ความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรต้น กับตัวแปรตาม สมมติฐานที่ตั้งไว้ อาจถูก หรือผิดก็ได้ ซึ่งจะทราบภายหลัง การทดลอง หาคำตอบเพื่อสนับสนุน หรือคัดค้านสมมติฐานที่ตั้งไว้
6.ทักษะการตีความหมายข้อมูล และลงข้อสรุป การตีความหมายข้อมูล คือ การแปรความหมาย หรือ การบรรยาย ลักษณะและสมบัติของข้อมูลที่มีอยู่ การลงข้อสรุป คือ การสรุปความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งหมด
7.ทักษะการทดลอง มี 3 ประเภท คือ การทดลองแบบแบ่งกลุ่ม เปรียบเทียบ ไม่มีกลุ่ม เปรียบเทียบและลองผิดลองถูก การทดลองเป็นกระบวนการปฏิบัติการเพื่อหาคำตอบ หรือการทดสอบ สมมติฐานที่ตั้งไว้ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ การออกแบบการทดลอง การปฏิบัติการทดลองและการบันทึกผลการทดลอง
8.ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ คือ การกำหนดความหมายและขอบเขตของสิ่งต่าง ๆ (ที่อยู่ในสมมติฐานที่ต้องทดลอง) ให้เข้าใจตรงกัน และสามารถสังเกตหรือวัดไว้
9.ทักษะการพยากรณ์ คือ การสรุปคำตอบล่วงหน้า ก่อนการทดลองโดยอาศัยประสบการณ์ ที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ หลักการ กฎ หรือทฤษฎีที่มีอยู่แล้วในเรื่องนั้น มาช่วยในการสรุป การพยากรณ์มีสองทาง คือ การพยากรณ์ภายในขอบเขตของข้อมูลที่มีอยู่และ การพยากรณ์นอกขอบเขตข้อมูลที่มีอยู่
10.ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล คือ การเพิ่มความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่ได้จากากรสังเกตอย่างมีเหตุผล โดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์เดิมมาช่วย
11.ทักษะการวัด คือ การเลือกและการใช้เครื่องมือทำการวัดหาปริมาณของสิ่งต่าง ๆ ออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้อย่างเหมาะสม และถูกต้อง โดยมีหน่วยกำกับเสมอ
12.ทักษะการสังเกต คือ ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัส อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง เพื่อหาข้อมูล หรือรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ โดยไม่เพิ่มความคิดเห็น ส่วนตัวลงไป
13.ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับมิติ และมิติกับเวลา วัตถุต่าง ๆ ในโลกนี้ จะทรงตัวอยู่ได้ ล้วนแต่ครองที่ที่ว่าง การครอง ที่ของวัตถุในที่ว่างนั้น โดยทั่วไปแล้วจะมี 2 มิติ ได้แก่ มิติยาว มิติกว้าง และมิติสูงหรือหนา


                      > ทักษะทางวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์
ความหมายของคำว่า วิทยาศาสตร์ จะมี 2 ส่วน
1. วิทยาศาสตร์หมายถึงความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติ ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่มนุษย์พยายามหาคำตอบเกี่ยวกับคำถามจากสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น

สิ่งต่างๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร

สิ่งต่างๆ มีความสัมพันธ์กันหรือไม่ อย่างไร

สิ่งต่างๆ ที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบันจะเป็นอย่างไรในอนาคต

มนุษย์ใช้ประโยชน์จากสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นนี้อย่างไรการการพยายามหาคำตอบจากสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ นำไปสู่ข้อสรุปเป็นข้อเท็จจริง ความคิดรวบยอด ทฤษฎี หลักการ และกฎต่างๆ ทางด้านวิทยาศาสต

2. วิทยาศาสตร์ หมายถึง

กระบวนการค้นหาความรู้อย่างเป็นระบบและมีขั้นตอนที่สามารถตรวจสอบได้ จึงได้ความรู้ที่มีขั้นตอนและสามารถตรวจสอบได้ จึงได้ความรู้ที่มีระเบียบกฎเกณฑ์

เด็กปฐมวัย > พัฒนาการ > สติปัญญา > การคิด > คิดเชิงเหตุผล > คณิคศาสตร์ , วิทยาศาสตร์
                                                                      > สร้างสรรค์
                                                                      > การคิด
วิธีการเรียนรู้ > ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู ลิ้น จมูก และการสัมผัสด้วยการ   การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
     การพัฒนาประสาทสัมผัสทั้ง 5
     การแสดงละครสร้างสรรค์เป็นการแดสงที่ต้องเน้นการเคลื่อนไหวร่างกาย โดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นได้รับรู้ ดังนี้ การฝึกปฏิบัติในการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ให้เกิดความชำนาญ จะต้องมีความมุ่งมั่น ตั้งใจจริง มีสมาธิในการปฏิบัติงาน ทำให้เกิดการเรียนรู้ในการแสดงออก และเกิดจินตนาการ
     ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และการสัมผัสด้วยกาย เพื่อให้มีความไว และความละเอียด แล้วนำมาใช้ในการแสดงได้เป็นอย่างดี ดังนี้
     การได้เห็น  เกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทาง ตา ซึ่งผู้แสดงจะต้องพัฒนาการรับรู้ทางตา เพื่อให้ไวต่อการสร้างสรรค์ผลงานโดยผู้แสดงจะต้องสังเกต และมองสิ่งรอบ ๆ ตัว เพื่อแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดปัญหาในขณะกำลังแสดงอยู่ 
     การได้ยิน  เกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทาง หู ผู้แสดงจะต้องพัฒนาการรับรู้ทางการฟัง เพราะอาจต้องใช้ในการแสดงบางประเทที่มีการบอกบทในขณะแสดง ระบบการได้ยินจึงต้องมีประสิทธิภาพ เพื่อสามารถนำไปใช้ในการแสดงเป็นไปตามที่กำหนดไว้ และสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
     การได้กลิ่น เกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทาง จมูก ผู้แสดงจะต้องมีความไวต่อการได้กลิ่น และสามารถบอกได้ว่าเป็นกลิ่นอะไรแสดงสีหน้าท่าทางอย่างไรเมื่อได้กลิ่นนั้น ๆ
     การได้ลิ้มรส  เกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทาง ลิ้น ผู้แสดงจะต้องพัฒนาการรับรู้ทางการชิมรส ต้องรับรู้รสต่าง ๆ ได้แม่นยำและสามารถแสดงสีหน้าท่าทางเมื่อได้รับรู้รสนั้น ๆ
     การได้สัมผัส  เกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทาง มือ หรือ ผิวหนังส่วนอื่น ผู้แสดงจะต้องมีความรู้สึกไวต่อสิ่งของที่ได้สัมผัสแต่ละชนิดว่ามีลักษณะอย่างไร เช่น ผิวหยาบ ผิวนุ่ม ผิวแข็ง และเมื่อได้สัมผัสสิ่งนั้น ๆ มีท่าทางความรู้สึกอย่างไร
     การพัฒนาประสาทสัมผัสทั้ง 5 อยู่เสมอ จะทำให้ผู้แสดงมีความรู้และการรับรู้ฉับไวในการแสดงแต่ละอย่าง และสามารถสร้างสรรค์งานละครได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 
     กิจกรรมที่นำมาฝึกประสาทสัมผัสทั้ง 5 มีหลายกิจกรรม เช่น 
     1.  ฝึกการมอง  ให้นักแสดงฝึกมองสิ่งต่าง ๆ โดยให้ดูลักษณะภายนอกที่มองเห็นว่าเป็นสิ่งใด แล้วฝึกการแสดงออกโดยใช้สายตา เพื่อสื่อความหมายให้ผู้ชมเข้าใจ เช่น เห็นสัตว์ดุร้าย ทำตาโตแบบตกใจเห็นแสงสว่างมาก หรี่ตาและใช้มือบังตา เป็นต้น 
     2.  ฝึกการฟังเสียง  ให้นักแสดงทายเสียงดนตรี หรือเสียงสัตว์ต่าง ๆ โดยไม่ให้เห็นที่มาของเสียง จากนั้นจึงแสดงท่าทางประกอบ โดยให้สอดคล้องกับเสียงที่ได้ยิน เช่น ได้ยินเสียงดังให้เอามือปิดหู ได้ยินเสียงกระซิบให้เอามือป้องหู เป็นต้น
     3.  ฝึกการดมกลิ่น  ให้นักแสดงหลับตาและดมกลิ่น แล้วทายว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร เช่น ดอกไม้ ผลไม้ ผัก เป็นต้น จากนั้นฝึกแสดงท่าทางประกอบให้สอดคล้องกับกลิ่นที่ได้สัมผัส เช่น ได้ดมกลิ่นเหม็นให้เอามือปิดจมูก ได้ดมกลิ่นหอมให้ทำท่าสูดกลิ่นอย่างแรง เป็นต้น
     4.  ฝึกการชิมรส  ให้นักแสดงหลับตาทายอาหารที่ชิมหลาย ๆ ชนิดว่าเป็นอาหารประเภทไหน ชื่ออะไร เช่น ข้าวผัด ก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น จากนั้นจึงฝึกแสดงท่าทางประกอบให้สัมพันธ์กับการรับรู้รสนั้น ๆ เช่น ได้รับรู้รสเผ็ดให้แสดงอาการซู้ดปาก และเอามือพัดปากได้รับรู้รสขมให้ทำหน้าตาบูดเบี้ยว เป็นต้น
     5.  ฝึกการสัมผัส  ให้นักแสดงหลับตาแล้วคลำสิ่งของต่าง ๆ โดยใช้การสัมผัส เช่น ใช้มือคลำสิ่งของต่าง ๆ แล้วทายว่าเป็นอะไร จากนั้นฝึกแสดงท่าทางประกอบ โดยให้สอดคล้องกับสิ่งที่ได้สัมผัส เช่น ได้สัมผัสกับขนปุยของลูกสุนัขให้แสดงท่าทางเอามือลูบไล้เบา ๆ ได้สัมผัสหนามแหลมคมให้กระตุกมือขึ้น เป็นต้น
  > ภาษา > คือ เครื่องมือในการเรียนรู้  สื่อสาร

HOMEWolk

- พัฒนาการทางสติปัญญา  5 ขวบ  ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์  ( หลักสูตร )
- งานกลุ่ม 3 - 4  คน  1 หน่วย  1 อ่ทิตย์



วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 1 วันที่ 12 มิ.ย 2555

- ทำ blogger วิทยาศาสตร์
- ลิงค์ มาตรฐาน วิทยาศาสตร์ ของ  สสวท.
- ลิงค์ รายชื่อ เพื่อนในบล็อค
- ดูโทรทัศน์ครูเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ( เรื่องนึงซ้ำได้ไม่เกิน 3 คน )

มาตรฐานวิทยาศาสตร์ ของ  สสวท.
http://www3.ipst.ac.th/physics/index.php?option=com_content&view=article&id=54&Itemid=58