ภาพกิจกรรม

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 5 วันที่ 10 ก.ค 2555

นำเสนองานกลุ่ม  การทำสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์

นำเสนองานน่าชั้นเรียน อธิบายวิธีการเล่น และ  การนำสื่ออุปกรณืมาทำมีอะไรบ้าง  เล่นแล้วได้อะไรเป็นวิทยาศาสตร์ตรงไหน ?







บูมเมอแรงหรรษา 


อุปกรณ์

- กระดาษแข็ง
- เทปกาว , กาว
- สีไม้ , สีเมจิก
- ไม้บรรทัด


วิธีทำ




1.  นำกระดาษแข็งทั้ง 2 แผ่นที่เตรียมไว้มาติดลงไปข้างใดข้างหนึ่งให้เป็นรูปตัวแอล


2. นำเทปกาวมาติดตรงแนวต่อกระดาษให้หนาแน่น


3. เมื่อติดเทปกาวลงไปแล้วตรวจเช็คดูว่าแน่นหนาหรือยังจากนั้น 
จากนั้น ก็ใช้สีเมจิก สีไม้ ระบายได้ตามใจชอบ เพื่อความสวยงาม

วิธีการเล่น

นำบูมเมอแรง มาตั้งไว้ที่หน้านิ้วโป้ง ปล้วปัดออกไป 
เมื่อทำแล้ว บูมเมอแรง จะหมุนๆ คล้ายๆ กังหัน
















วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่4 วันที่ 3 มิ.ย 2555

- อาจารย์ถามความเห็นนักศึกษา  >>  ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการได้ดูหนัง ดูแล้วได้อะไร  >> ได้ความเพลิดเพลิน   ความสนุกสนาน  ร้องไห้   เห็นใจ  ตื่นเต้น   กลัว  เป็นต้น

- ชม VDO เรื่อง  มหัศจรรย์ของน้ำ

มหัศจรรย์ของน้ำ

               น้ำเป็นสสารชนิดเดียวในโลกที่ปรากฏตามธรรมชาติพร้อมกันทั้ง 3  สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ  คุณสมบัติอันน่าทึ่งนี้ควบคู่ไปกับความสามารถอันใหญ่หลวงในการรับและถ่ายทอดพลังงานความร้อนของน้ำ ทำให้น้ำมีบทบาทสำคัญในการรักษาอุณหภูมิของบรรยากาศให้เหมาะสม และสร้างวงจรของน้ำขึ้นสำหรับสิ่งมีชีวิตต่างๆ
               เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น น้ำจะดูดซับความร้อนเข้าไปมากขึ้น จนน้ำส่วนหนึ่งกลายเป็นไอ โดยน้ำ 1 กรัม ที่อุณหภูมิ 10  องศาเซลเซียส จะระเหยกลายเป็นไอได้ต้องดึงความร้อนจากสิ่งแวดล้อมไปใช้ถึง 629 แคลอรี่ ทำให้สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆ
เย็นลงได้
               เมื่ออุณหภูมิลดต่ำลง ไอน้ำซึ่งมีสภาพเป็นก๊าซชนิดหนึ่งจะเปลี่ยนสถานะกลายเป็นละอองน้ำพร้อมกับคายความร้อนออกมาช่วยให้เกิดความอบอุ่นขึ้น เมื่อฝนใกล้ตกจะทำให้มีความรู้สึกอบอ้าว เนื่องจากน้ำคายความร้อนออกมานั่นเอง
               น้ำในบรรยากาศรวมทั้งในมหาสมุทร ทะเลและแหล่งน้ำอื่นๆทำหน้าที่เก็บรักษาและคายความร้อน ทำให้โลกมีสภาพบรรยากาศอบอุ่นสบายเช่นที่ผ่านมา แต่ที่ในช่วงตั้งแต่ประมาณ 10 ปีที่ผ่านมาจนกระทั่งทุกวันนี้สภาพอากาศมีการแปรปรวนบ่อยขึ้น อันมีผลมาจากความไม่สมดุลย์ของก๊าซในชั้นบรรยายกาศที่มีปริมาณของก๊าซที่สามารถในการเก็บความร้อนเพิ่มมากขึ้นจนมีผลให้เกิดความแปรปรวนดังกล่าว

ฝนตกเกิดจาก น้ำโดนความร้อนของแสงจากดวงอาทิตย์หรือความร้อนอื่นใดที่ใช้ในการต้มน้ำ จนทำให้ระเหยกลายเป็นไอน้ำ ลอยขึ้นไปในอากาศ เมื่อไอน้ำมากขึ้นจะรวมตัวกันเป็นละอองน้ำเล็กๆ ปริมาณของละอองน้ำยิ่งมากขึ้นเรื่อยๆก็จะรวมตัวกันเป็นเมฆฝน พอมากเข้าอากาศไม่สามารถพยุงละอองน้ำเหล่านี้ต่อไปได้ น้ำก็จะหล่นลงมายังผืนโลกให้เราเรียกขานกันว่าฝนตก วัฏจักรของน้ำที่เกิดขึ้น เป็นอย่างนี้มาตลอดตั้งแต่โลกใบกลมของเราเกิดขึ้นมา และคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆชั่วกัปกัลป์ 

การเกิดฝน

ฝนที่ตกลงมานั้นเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของวัฏจักรของอุทกวิทยา ซึ่งน้ำจากผิวน้ำในมหาสมุทรระเหยกลายเป็นไอ ควบแน่นเป็นละอองน้ำในอากาศ ซึ่งรวมตัวกันเป็นเมฆ และในที่สุดตกลงมาเป็นฝน ไหลลงสู่แม่น้ำ ลำคลอง ไปสู่ทะเล มหาสมุทร และวนเวียนเช่นนี้เป็นวัฏจักรไม่สิ้นสุด 


ปริมาณน้ำฝนนั้นวัดโดยใช้ มาตรวัดน้ำฝน โดยเป็นการวัดความลึกของน้ำที่ตกลงมาสะสมบนพื้นผิวเรียบ สามารถวัดได้ละเอียดถึง 0.25 มิลลิเมตร หรือ 0.01 นิ้ว บางครั้งใช้หน่วย ลิตรต่อตารางเมตร (1 L/m? = 1 mm) 


เกิดจากอนุภาคของไอน้ำขนาดต่างๆในก้อนเมฆเมื่อมีขนาดใหญ่ขึ้นจนไม่สามารถลอยตัวอยู่ในก้อนเมฆได้ก็จะตกลงมาเป็นฝน ฝนจะตกลงมายังพื้นดินได้นั้นจะต้องมีเมฆเกิดในท้องฟ้าก่อน เมฆมีอยู่หลายชนิด มีเมฆบางชนิดเท่านั้นที่ทำให้มีฝนตก เราทราบแล้วว่าไอน้ำจะกลั่นตัวเป็นเมฆก็ต่อเมื่อมีอนุภาคกลั่นตัวเล็กๆอยู่เป็นจำนวนมากเพียงพอและไอน้ำจะเกาะตัวบนอนุภาคเหล่านี้รวมกันทำให้เกิด เป็นเมฆ เมฆจะกลั่นตัวเป็นน้ำฝนได้ก็ต้องมีอนุภาคแข็งตัว(Freezing nuclei) หรือเม็ดน้ำขนาดใหญ่ซึ่งจะดึงเม็ดน้ำขนาดเล็กมารวมตัว กันจนเป็นเม็ดฝน สภาวะของน้ำที่ตกลงมาจากท้องฟ้าอาจเป็นลักษณะของฝน,ฝนละอองหิมะหรือลูกเห็บซึ่งเรารวมเรียกว่าน้ำฟ้าจะตกลง มาในลักษณะไหนขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของอากาศในพื้นที่นั้นๆ น้ำฟ้าต้องเกิดจากเมฆ ไม่มีเมฆไม่มีน้ำฟ้าแต่เมื่อมีเมฆไม่จำเป็นต้องมีน้ำฟ้า เสมอไปเพราะเมฆหลายชนิดที่่ลอยอยู่เฉยๆไม่ตกลงมา มีเมฆบางชนิดเท่านั้นที่ทำให้เกิดน้ำฟ้า 


โดยปกติแล้ว ฝนจะมีค่า pH ต่ำกว่า 6 เล็กน้อย เนื่องมาจากการรับเอาคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศเข้ามาซึ่งทำให้ส่งผลเป็นกรดคาร์บอนิก ในพื้นที่ที่เป็นทะเลทรายนั้นฝุ่นในอากาศจะมีปริมาณแคลเซียมคาร์บอเนตสูง ซึ่งส่งผลต่อต้านความเป็นกรด ทำให้ฝนนั้นมีค่าเป็นกลาง หรือ แม้กระทั่งเป็นเบส ฝนที่มีค่า pH ต่ำกว่า 5.6 นั้นถึอว่าเป็น ฝนกรด (acid rain) 


อ้างอิงจากเว็บ http://www.panyathai.or.th


การบ้าน

- จับคู่  ทำสื่อที่เด็กๆเล่นด้วยตนเอง ( วิทยาศาสตร์ ) ใช้จากเศษวัสดุ ใช้วัสดุอะไรบ้าง  ถ่ายรูปรูปำเป็นขั้นตอน  วิธีทำของเล่น 

- ทำสื่อเพื่อนำไปสอนเด็กๆ





บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่3วันที่27มิ.ย2555

ไม่ได้เข้าเรียน